สมเด็จปู่เฒ่า
สมเด็จปู่เฒ่า วัตถุมงคลที่หลวงปู่สุภา ได้ตั้งใจมอบให้เหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพเลื่อมใส เอาไว้บูชาและคุ้มครองป้องกันภัยนตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลวงปู่กล่าวไว้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2550 ที่บ้านโยมที่กรุงเทพ ท่ามกลางคนเป็นจำนวนมากว่า
” พระสมเด็จปู่เฒ่านี้ศักดิ์สิทธิด้วยแรงสัจจะอธิษฐาน “
ของอาตมาที่มีต่ออาจารย์ใหญ่ที่เคยไปเรียนวิชาด้วยที่เมืองจีน ” เนื่องจากท่านได้เคยตั้งสัจจะ ไว้ว่าจะสร้างพระขึ้นมา 1 รุ่นเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูและ ระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ของท่าน และท่านได้อธิฐานบอกกล่าว
กับครูบาอาจารย์ทุกองค์และพระอรหันต์ที่ถ้ำจุงจิง ประเทศลาว ที่ท่านเคยพบและเรียนกรรมฐานด้วยว่า ” เมื่อใดที่ได้มีการสร้างพระที่ตั้งสัจจะไว้ขออารธนาท่านเหล่านั้นมาช่วยแผ่บารมีและพุทธาภิเษกให้ด้วย ” ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ได้รับปากหลวงปู่ไว้ เพราะฉนั้นจึงเป็นที่มาของชื่อ พระรุ่นนี้ และ วิธีการพุทธาภิเษกพระที่ไม่เหมือนใคร
ความเป็นมา
รูปแบบของ “สมเด็จปู่เฒ่า” หลวงปู่สุภาเป็นผู้กำหนดเองทั้งหมดทั้งการวางตัวอักษร ขอมลาวบนองค์พระ ท่านมอบหมายให้แม่ชีเล็กเป็นผู้สร้าง จำนวน 84,000 องค์ โดยท่านจะกำกับดูแลอยู่ตลอดเวลา และได้ทำพิธีเริ่มการสร้างพระด้วยตัวท่านเอง โดยมีกรรมการวัด รู้เห็นหมดขั้นทุกตอนและพระที่ได้ทั้งหมด กรรมการจะเป็นผู้มารับมอบไปเพื่อให้เช่าบูชาที่ห้องวัตถุมงคลของวัดโดยไม่มีหลุดเล็ดรอดไปที่อื่น
หลวงปู่ได้มอบหมายหน้าที่ให้คุณสุเทพ พงษ์เพียรชอบ (หมี ร่มโพธิ์ไทร) นำแบบพระมาสั่งทำแม่พิมพ์, จัดหามวลสาร, และ จัดสร้างกล่องที่ใช้บรรจุทั้ง 84,000 องค์ ส่วนหน้าที่การสร้าง หลวงปู่มอบหมายให้แม่ชีเล็กเป็นแกนนำในการสร้างโดยใช้เวลาในการปั๊มพระทั้งหมดเพียงเดือนเศษเท่านั้น เมื่อเสร็จภาระกิจที่หลวงปู่มอบหมายในครั้งนั้นแล้ว แม่ชีได้ลาสิกขาใน วันที่ 5 พฤศจิกายน 2554
พิธีพุทธาภิเษก
หลวงปู่สุภาได้นำพระรุ่นนี้เข้ากุฏิใหม่ ชั้น 2 และปิดประตูห้องห้ามใครรบกวน โดยใช้เวลาในตอนกลางคืนกับพระรุ่นนี้ถึง 10 คืนเต็มก่อนจะนำออก ให้เช่าบูชา หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ในแต่ละคืนที่ท่านอยู่ในห้องจะมีเหล่าบรรดาครูบาอาจารย์ของท่านและพระอรหันต์ที่เคยรับปากไว้หมุนเวียนกันมาแผ่บารมีและพุทธาภิเษกพระรุ่นนี้อย่างสมบูรณ์และครบถ้วนในทุกๆด้าน โดยเฉพาะคืนที่ 5 เบื้องบนได้เสด็จลงมา และในคืนนั้นเองได้เกิดปาฏิหารย์ขึ้นที่วัด กล่าวคือเสาไฟในวัดล้มระเนระนาดโดยไม่มีสาเหตุ ในทันทีที่ท่านเข้าห้องและปิดประตู ไฟฟ้าดับทั้งวัด และในคืนนั้นได้เกิดไฟลุกไหม้ภายในห้องที่ท่านกำลังพุทธาภิเษกพระเนื่องจากเทียนที่จุดข้างกองวัตถุมงคลได้ล้มลงโดยไม่มีสาเหตุ ทำให้ไฟได้ไหม้พรมและลุกลามไปทั่ว แต่ได้เกิดความอัศจรรย์คือ พระเพลิงมิอาจลุกลามเข้าไปทำอะไร กองวัตถุมงคลรวมทั้งหลวงปู่ ที่นั่งกรรมฐานได้ ความร้อนนั้นถึงขนาดทำให้สร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทอง ของประธานกรรมการวัดที่วางไว้ภายในกองวัตถุมงคลถึงกับ หลอมละลายกลายเป็น ก้อนทองไปหมดสภาพของสร้อย พระเพลิงได้ลุกไหม้อยู่นานจนกระทั่ง ผู้ที่ดูแลหลวงปู่รู้สึกแปลกว่าอาจจะมีอะไรเกิดขึ้นข้างบน จึงได้ขึ้นไปแอบดูจึงได้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงได้ช่วยกันเข้าไปดับไฟที่กำลังโหมไหม้พร้อมทั้ง นิมนต์หลวงปู่ออกจากสมาธิ และนำท่านออกมาจากห้องได้โดยปลอดภัย เมื่อท่านออกจากสมาธิจึงบอกว่าพระนั้นได้เสกจนครบถ้วนบริบูรณ์ดีแล้วแต่ท่านจะยังคงทำพิธีต่อไปอีกเรื่อยๆจนครบ 10 วันตามที่ได้ตั้งใจไว้
แต่เดิมพระรุ่นนี้จะเป็นพระรุ่นสุดท้ายที่ท่านสร้าง (แต่ภายหลังศิษยานุศิษย์ได้พร้อมใจกันอาราธนาให้ท่านอยู่ต่อ) เหล่าบรรดาศิษย์ใกล้ชิด แม่ชี กรรมการวัดจึงได้ร่วมแสดงความสามัคคีช่วยกันสร้างเองอันเป็นนิมิตหมายอันดี พระทั้งหมด ได้ดำเนินการสร้างภายในวัดทั้งสิ้น ทางแม่ชีเป็นผู้ผสมมวลสารและปั๊มพระ โดยหลวงปู่ได้ขึ้นไปทำพิธีและกำหนดเขตในการสร้างพระให้บนศาลากรรมฐานชั้น 2 ของหอแม่ชีต่อหน้าพระประธานบนศาลา และได้ทำพิธีปลุกเสกมวลสารซ้ำอีกหลังจากที่ได้มีการพุทธาภิเษกไปแล้วเมื่อคราวหล่อพระประธานในวันเกิดท่าน
มวลสารหลักที่สำคัญๆมีดังนี้
1. พระผงนะหน้าทองแตกหัก หลวงปู่มีวัดมารวิชัย(เสก20ปี) เกือบเต็มบาตร เจ้าอาวาสวัดมารวิชัยถวายมา
2. พระผงแตกหักหลวงพ่อเกษม ได้มาจากคลังของสุสานไตรลักษณ์
3. ผงปูนจากฐานพระพุทธวิชิตมาร วัดมารวิชัย
4. ตะไบชนวนพระกริ่งหลายๆรุ่นของวัดสุทัศน์และวัดบวร
5. ผงว่าน 108 ที่เหลือจากการทำพระขุนแผนสาริกา(2 บาตร)
6. พระเสด็จกลับที่แตกหักบดเป็นผง (คุณสุเทพ พงษ์เพียรชอบ ถวาย)
7. เกษาหลวงปู่สุภา
8. ชานหมากหลวงปู่สุภา
9. แป้งเสกหลวงปู่ต่าง เช่นหลวงปู่บุดดา หลวงปู่เย็น
10.ผงวิเศษที่หลวงปู่สุภาเสกให้ไว้
11.พระธาตุ(หลวงปู่นำมามอบให้ผสม)
12.ผงดอกไม้บูชาพระที่วัดสีลสุภาราม
13.ข้าวที่ท่านเคยออกบิณบาตรเมื่อกลางปี 48
14.สีผึ้งเดือน5ยอดมหาเสน่ห์ของหลวงปู่ที่เก็บไว้
15.พระรุ่นเก่าๆที่แตกหัก
16.ผงจากเต่ากัสสะโป
17.ดินจากสังเวชนียสถาน
18.ใบโพธิ์จากสังเวชนียสถาน
19.ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จปู่เฒ่าที่ทางแม่ชีสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางคณะกรรมการวัดก็ได้รับมอบต่อมาทั้งหมดเพื่อ นำมาเก็บรักษาที่คลังวัตถุมงคลและทำหน้าที่เปิดให้เช่าบูชาเพื่อนำรายได้ทั้งหมดมาสร้างพระอุโบสถกลางน้ำให้สำเร็จลุล่วง โดยพระชุดนี้จะถูกแบ่งไปให้เช่าบูชาที่วัดคอนสวรรค์ สกลนคร ด้วยเพื่อนำเงินไปสร้างหอปฏิบัติธรรมที่ยังค้างคา พระชุดนี้มีทั้งหมด 4 สีหลักๆคือ สีขาว เหลือง แดง และเทา แต่ก็ มีสีอ่อนและเข้มแตกต่างกันบ้างตามการผสมมวลสารในแต่ละครั้ง
องค์ปฐมฤกษ์
สมเด็จปู่เฒ่านั้นมีสีหลักอยู่ 4 สีและในแต่ละสีนั้น จะมีการกดเป็นปฐมฤกษ์สีละ 1 องค์ โดยสีที่สำคัญที่สุด ในการกดครั้งแรกนั้นคือสีเทา เนื่องจากเป็นองค์แรกและองค์เดียว ที่หลวงปู่ท่านกดเอง และนำพระที่กดนั้นติดตัวไว้ตลอดระยะเวลาเกือบปี เพื่อรอผู้ที่สมควรจะได้รับ (ปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบองค์นี้ จากมือหลวงปู่ไป คือนายสุเทพ พงษ์เพียรชอบ)
สมเด็จปู่เฒ่า
คุณป้าดา ซึ่งเป็นผู้ดูแล (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ได้เล่าว่า หลวงปู่ท่านหวงองค์นี้มากๆ ใครขอก็ไม่ยอมให้ เวลาท่านว่างๆหรือตอนท่านภาวนาก็มักจะหยิบเอาพระองค์นี้ออกมา เสกมาเป่า และถูไปตามใบหน้า ตามหัว ตามตัวท่าน เป็นเพราะเหตุใดไม่อาจจะทราบได้
ส่วนอีก 3 สีคือ แดง, เหลือง, และขาว โดยแม่ชี (ในขณะนั้น) เป็นผู้ช่วยกด
องค์ปฐมฤกษ์สีแดง
องค์ปฐมฤกษ์สีเหลือง
องค์ปฐมฤกษ์สีขาว