พระบูชา และ เหรียญรุ่น “อายุยืน” ๑๑๘ ปี 

 

เหรียญรุ่นอายุยืน, หลวงปู่นั่งแมงมุม. พระบูชานาคปรก  เป็นวัตถุมงคลที่หลวงปู่สุภา ตั้งใจมอบให้ลูกศิษย์เก็บไว้เป็นรุ่นสุดท้ายของท่าน ถือว่าเป็นวัตถุมงคลที่น่าเก็บไว้บูชา ประการแรก หลวงปู่ให้ทำพิธีพุทธาภิเษกถึง ๒ วาระ  ครั้งแรกในวันเสาร์ ๕ เดือน ๕ ปี ๕๕ และ ครั้งที่สองในวันคล้ายวันเกิดท่าน ๑๗ กันยายน ๒๕๕๕    ประการที่สอง หลวงปู่ตั้งใจ เสกพุทธคุณทางด้านเมตตา ผสมกับแมงมุมของหลวงปู่ศุข ที่เน้นทางด้านค้าขาย เพื่อให้ลูกศิษย์ได้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และมีเงินทองเพื่อใช้ดูแลครอบครัว  ประการที่สาม เงินปัจจัยที่ได้จากเหรียญชุดนี้ มีจุดประสงค์เพื่อใช้ก่อสร้างวัดลำดับที่ ๓๙ ของท่าน (สำนักสงฆ์โคกสูงโฆษธรรม)  โดยหลวงปู่ได้เล่าให้ นายวัจนสินธุ์ จารุวัฒนกิตติ ฟังว่าชีวิตของท่านก็เหมือนหนังสือเล่มหนึ่งที่มีอยู่ ๑๑๘ หน้า  ณ เวลานี้ หลวงปู่ก็มาถึงหน้าสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้แล้ว หลวงปู่ก็เป็นห่วงเรื่องสำนักสงฆ์โคกสูงโฆษธรรม นี่แหละกลัวว่าจะสร้างต่อไม่สำเร็จหลังหลวงปู่จากไป   กลุ่มลูกศิษย์ก็ได้รับปากหลวงปู่ว่า จะช่วยพระอาจารย์แดง ในการสร้างวัดของหลวงปู่ให้สำเร็จจนได้  ประการสุดท้าย หลวงปู่ก็บอกว่าการที่เราบูชาวัตถุมงคลนั้นแล้ว อย่าลืมสิ่งสำคัญคือให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงรักษาศีล ๕ ไว้ให้ดี รักษาคำสัตย์ไว้เป็นสำคัญ การงานต่างๆก็จะประสบความสำเร็จ สมดังหมาย

ประวัติการสร้างเหรียญรุ่นสุดท้าย พ.ศ. ๒๕๕๕

ต้นเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕  ด้วยวัยที่ชราภาพมากขึ้นของหลวงปู่ท่านจีงตัดสินใจกลับมาจำวัดที่จังหวัดสกลนคร ซี่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ท่านจีงได้สั่งให้พระอาจารย์ดาและแม่ชีเปีย ซี่งเป็นหลานแท้ๆ ของตัวท่านและผู้ที่ดูแลปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มายาวนานตลอดและเป็นผู้ที่หลวงปู่ไว้วางใจให้พาท่านเดินทางจากวัดสิริสีลสุภาราม จังหวัดภูเก็ต (วัดลำดับที่ ๓๘) ซี่งท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น ไปจำวัดที่ วัดคอนสวรรค์ ต.ค้อเขียว อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร

วัดคอนสวรรค์นี้ยังเป็นวัดบ้านเกิดของท่านด้วย แม้ท่านจะไม่ได้เป็นผู้สร้างเอง แต่ท่านก็ได้ทำนุบำรุงวัดแห่งนี้มาตลอด การก่อสร้างแทบทั้งหมดในวัดนี้ก็ได้มาจากการช่วยเหลือของหลวงปู่ และคณะลูกศิษย์กลุ่มต่างๆของเท่า  หลวงปู่ได้พำนักอยู่ที่สกลนครและมีสุขภาพดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ด้วยอุปนิสัยของท่านที่เป็นพระที่ไม่หยุดนิ่งและเป็นพระที่มีความรับผิดชอบสูงจีงมีความเป็นกังวลกับโครงการต่างๆที่ท่านได้ดำเนินการไว้ทั้งที่ สำนักสงฆ์โคกสูงโฆษธรรม (วัดลำดับที่ ๓๙ ที่หลวงปู่มีความประสงค์จะสร้าง) และวัดอื่นๆกว่า ๓๘ วัดที่ท่านได้สร้างไว้จะไม่แล้วเสร็จเพราะบางโครงการต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนมากในการที่จะทำให้แล้วเสร็จท่านจึงได้มีดำริกับลูกศิษย์ลูกหาใกล้ชิดให้ช่วยดำเนินการบอกบุญหาจตุปัจจัยเพื่อที่ท่านจะได้นำไปสร้างทำนุบำรุงบูรณะเสนาสนะต่างๆที่ได้ทำค้างคาไว้ให้แล้วเสร็จตามเจตนารมย์ของท่าน

ม.ร.ว. จิราคม กิติยากร ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านหนี่งที่มีความเคารพศรัทธาในเนื้อนาบุญของหลวงปู่จึงได้รับภาระเป็นประธานในโครงการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นอายุยืน ๑๑๘ ปี หลวงปู่สุภา กันตสีโล ที่ได้จัดสร้างขึ้นมาเพื่อหารายได้มอบถวายให้หลวงปู่ และร่วมฉลองที่หลวงปู่เป็นพระสงฆ์ที่มีสิริ อายุยืนยาวมากที่สุดในขณะนี้คือมีอายุถึง ๑๑๘ ปีและยังมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

ม.ร.ว. จิราคม กิติยากร ได้มอบหมายหน้าที่ให้ นายวัจนสินธุ์ จารุวัฒนกิตติ มาจัดการโครงการนี้ โดยให้ช่วยงานใกล้ชิดกับหลวงปู่สุภา และร่วมงานพระอาจารย์คนสนิทของหลวงปู่อีก ๓ รูป คือ พระอาจารย์วิชาญ ปวโร เจ้าอาวาสวัดสระแก้ว ศรีสรรเพชญ จ.สุพรรณบุรี, พระอาจารย์แดง สำนักสงฆ์โคกสูงโฆษธรรม, พระอาจารย์นิพล เจ้าอาวาสวัดคอนสวรรค์   โดยวัตุมงคลรุ่นสุดท้ายนี้จะออกแบบให้สวยงามตามหลักพุทธศิลป แบ่งออกเป็น พระเหรียญ ๕ แบบ และ พระบูชา ๒ แบบ ดังต่อไปนี้

 
วาระแรก เสาร์ ๕ เดือน ๕ ปี ๕๕
พิธีพุทธาภิเษกวาระแรกนี้ได้เลือกจัดในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากเป็นวันสุดยอดอภิมหาฤกษ์เสาร์ที่ ๕ เดือน ๕ ปี ๒๕๕๕ โดย หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล เป็นประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ และ ม.ร.ว.จิราคม กิติยากร เป็นประธานกิติมศักดิ์ฝ่ายฆราวาส
 
เวลา 0.00 น. ถือเป็นอุดมฤกษ์พุทธาภิเษก และ ปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่น อายุยืน ๑๑๘ ปี เหล่าพระภิกษุสงฆ์วัดคอนสวรรค์ และ พระธุดงค์จากทั่วประเทศ ที่เคารพนับถือ และรักใคร่หลวงปู่สุภา ได้บริกรรมตั้งธาตุทั้ง ๔ ตามหลักวิชาของหลวงปู่สุภา กนฺตสีโล จนกระทั่งถึงเวลา ๕.๕๕ น. เป็นอันจบพิธี
 
เวลา ๗.๐๐ น. พระธุดงค์ผู้ศรัทธาในหลวงปู่สุภาทั่วประเทศ จำนวน ๑๑๘ รูป และพระสงฆ์วัดคอนสวรรค์ร่วมทำกิจวัตร ออกบิณฑบาต ในตำบลค้อเขียว
ในช่วงสาย พ่อพราหมณ์จากวัดหลวงพ่อโสธร ได้ทำพิธีกรรมทางพราหมณ์อธิษฐานเชิญวิญญาณเทพยดาทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน เข้าประจำในมณฑลพิธี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่งานพุทธาภิเษก
 
เวลา ๑๓.๐๐ น.  เริ่มทำการปลุกเสก พระสวดพุทธาภิเษก โดยมีหลวงปู่สุภา กันตสีโล เป็นประธานสงฆ์ ทำพิธีอธิฐานจิตพุทธาภิเษกด้วยตัวท่านเอง เพราะท่านที่ต้องการที่จะทำพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลของท่านด้วยตัวท่านเองเพื่อที่จะทำให้วัตถุมงคล รุ่น อายุยืน ๑๑๘ ปีมีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์อย่างที่สุดเพื่อที่ผู้นำไปบูชาจะได้มีความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัวอย่างที่สุด นับเป็นบุญวาสนาของผู้ที่มาร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง
ระหว่างพิธีพุทธาภิเษก และปลุกเสก มีผู้ศรัทธาในหลวงปู่สุภา กนฺตสีโล สนใจขอจองเช่าบูชาวัตถุมงคลหลวงปู่สุภา รุ่นอายุยืน ๑๑๘ ปี กันอย่างล้นหลาม พร้อมกันนี้ ม.ร.ว. จิราคม กิติยากร ท่านได้ให้เกิยรติมาเป็นประธานกิติมศักดิ์ฝ่ายฆราวาส โดยเมื่องานพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นอายุยืน ๑๑๘ ปี เสร็จสิ้น ม.ร.ว. จิราคม กิติยากร ได้มอบเหรียญที่ระลีกซึ่งทำพิธีปลุกเสกแล้ว ให้แก่ประชาชนที่มาร่วมงานด้วยตัวท่านเอง โดยเหรียญนั้นชื่อว่าเหรียญแผ่นดินเกิด คือสร้างเพื่อในวาระที่หลวงปู่สุภา ตัดสินใจกลับมาจำวัดที่วัดคอนสวรรค์อันเป็นบ้านเกิดของท่าน ลักษณะเหรียญเป็นเหรียญปั๊มเนื้อทองแดงชนิดเดียวรูปแบบลักษณะเหรียญคือการถอดแบบมาจากพระผงเสด็จกลับของหลวงปู่สุภา ที่ได้จัดสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ อันลือลั่นเรื่องพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันมูลค่าสูงมากและหายากยิ่ง
วาระที่สอง พุทธาภิเษกมหาฤกษ์ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๕
พิธีพุทธาภิเษกมหาฤกษ์ได้จัด ณ วัดคอนสวรรค์ ต.ค้อเขียว อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร วันจันทร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ( ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง ) ในเดือนกันยายน สืบเนื่องจากเป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบอายุ ๑๑๘ ของหลวงปู่ด้วย โดย หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล เป็นประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ และ ม.ร.ว.จิราคม กิติยากร เป็นประธานกิติมศักดิ์ฝ่ายฆราวาส
 

 รายนามพระมหาเถราจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิตวัตถุมงคลในพิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคลหลวงปู่สุภา กนฺตสีโล 

  1. ดร.พระมงคลวิสุทธิ์ (หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล) อายุ ๑๑๘ ปี ประธานจุดเทียนชัย
  2. พระครูพิบูลนวกิจ (หลวงปู่คำบุ คุตฺตจิตฺโต) อายุ ๙๐ ปี วัดกุดชมพู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ดับเทียนชัย
  3. หลวงปู่วิเชียร อายุวฒฺฑโก (หลวงปู่พันตา) สำนักสงฆ์หลวงจำนงราชสถิต อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
  4. พระครูวีรธรรมคุณ (หลวงปู่อินตอง สุภวโร) วัดวีระธรรม อ.พังโคน จ.สกลนคร
  5. พระครูปภัสสราธิการ (หลวงปู่เผด็จ ปภสฺสโร) วัดถ้ำผาจรุย อ.ป่าแดด จ.เชียงราย
  6. พระครูโกวิทสังฆการ (หลวงปู่สัมภาส โกวิโท) วัดกุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
  7. หลวงพ่อสหชัย สจฺจญาโณ วัดป่าห้วยบง อ.จุน จ.พะเยา
  8. หลวงพ่อสมหมาย ฐิตเตโช วัดป่าแดงสามัคคี อ.เชียงคำ จ.พะเยา
  9. หลวงพ่อสุธรรม สุธมฺโม วัดป่าหนองไผ่ อ.เมือง จ.สกลนคร
  10. พระครูวิสุทธิญาณสุนทร (หลวงพ่อบุญเรือง ฐิตโชโต) วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
  11. พระครูภาวนาสุมณฑ์ (หลวงพ่อเดช สุมโน) วัดถ้ำสุมโน อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง
  12. พระครูวิมลศีลโสภณ (หลวงพ่อสำเนา ธมฺมสีโล) วัดทุ่งศรีสองเมือง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
  13. พระราชวิสุทธินายก (หลวงพ่อพรหมา จตฺตภโย) วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
  14. พระครูวิทานธรรมโกวิท (หลวงพ่อบรรทาย ฐิตธมฺโม) วัดป่าอุ่นนา อ.นาหว้า จ.นครพนม
  15. พระครูวิริยธรรมนิเทศ (หลวงพ่อไพรเวท ขิปฺปาภิญฺโญ) วัดป่าวิริยะพล อ.เต่างอย จ.สกลนคร
  16. หลวงพ่อวีระ ฐิตจิตฺโต วัดถ้ำเทิง อ.เมือง จ.สกลนคร